เปลี่ยน ยางรถยนต์ ใหม่​ เช็คค่า “Treadwear” บนแก้มยางกันหรือยัง

หัวข้อน่าสนใจ

ยางรถยนต์ ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ จะเปลี่ยนทุก ๆ  3 ปี หรือหลังจากที่ขับได้ระยะทาง 30,000 กิโลเมตร หรือยึดตาม เดือน-ปีที่ผลิต ถึงแม้เรื่องนี้จะดูมีเหตุผล แต่การเปลี่ยนยางตามอายุการใช้งาน ยางรถยนต์ หรือระยะทางนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การสึกหรอของยางขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ภูมิอากาศ สภาพถนนและสไตล์กับขับขี่รถยนต์ของผู้ใช้รถแต่ละคน

ยางรถยนต์
ปรกติเราจะยึดระยะเวลาและระยะทางเป็นตัวกำหนดในการเปลี่ยน ยางรถยนต์ แต่ความจริงแล้วไม่ใช้

ดังนั้นหากคิดว่า ยางรถยนต์ ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่หรือ ยางรถยนต์ ใช้ได้กี่ปี? แทนที่เราจะเปลี่ยนยางตามอายุการใช้งานและระยะทาง เราควรจะดูจากความลึกของร่องดอกยางแทนจะดีที่สุด โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่เมื่อนำรถไปเปลี่ยนยาง ก็มักจะดูเฉพาะ “เดือน-ปีที่ผลิต” บนแก้มยางเท่านั้น แต่รู้ไหมว่า ยางรถยนต์ ทุกเส้นมีตัวเลขที่บ่งบอกถึงความนิ่ม-ความแข็งของเนื้อยาง รวมถึงอายุการใช้งานของยางเส้นนั้นๆ อีกด้วย

ค่า Treadwear บนแก้มยาง คืออะไร?

แน่นอนว่าสิ่งแรกในการเลือกซื้อ ยางรถยนต์ นั่นให้ดู เดือน ปีที่ผลิต แต่หากสังเกตให้ดีจะพบว่าบนแก้มยางมีการระบุ “Treadwear” ตามด้วยตัวเลขเอาไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการแบ่งเกรดคุณภาพยางที่เรียกว่า Uniform Tyre Quality Grading (UTQG) โดยค่า Treadwear ใช้สำหรับบ่งบอกถึงอัตราความสึกหรอของยางเส้นนั้นๆ ซึ่งใช้ตัวเลขกำกับ เช่น 200, 260, 350, 400 หรือกระทั่ง 800 เป็นต้น

รายละเอียดของ ยางรถยนต์
treadwear คือค่าที่จะทำให้เราเลือกใช้ ยางรถยนต์ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

โดย ยางรถยนต์ ที่มีค่า Treadwear สูงๆ บ่งบอกถึงอัตราการสึกหรอที่ช้ากว่า สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า ในทางกลับกัน ยางที่มีค่า Treadwear ต่ำ แสดงว่ายางเส้นนั้นมีอายุการใช้งานสั้นกว่า เนื่องจากยางมีอัตราการสึกหรอเร็วกว่านั่นเอง

วิธีเลือก ยางรถยนต์ จากค่า Treadwear

ตัวเลข Treadwear ของ ยางรถยนต์ แต่ละรุ่นถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตยาง ไม่ใช่มาตรฐานของหน่วยงาน หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้นยางที่มี Treadwear 400 ของผู้ผลิต A อาจมีการสึกหรอแตกต่างจากยางที่มี Treadwear 400 ของผู้ผลิต B เล็กน้อย นอกจากนี้ ประสิทธิภาพต่างๆ ของยางแต่ละรุ่น เช่น ความนุ่มเงียบ, ความทนทาน, การยึดเกาะถนน ฯลฯ ยังมีปัจจัยอื่นอีกนอกเหนือจากค่า Treadwear เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยาง, การออกแบบโครงสร้างยาง หรือการออกแบบลวดลายของดอกยาง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เจ้าของรถต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย

ยางรถยนต์ที่สึกหรอช้า
ยางที่มีค่า Treadwear สูงๆ บ่งบอกถึงอัตราการสึกหรอที่ช้า ส่วนมากใช้ในรถขนส่ง

ยางที่มีค่า Treadwear สูงจะมีความแข็งของเนื้อยางมากกว่า จึงมักพบข้อเสียที่คนใช้รถทั่วไปไม่พึงประสงค์ เช่น ยางมีเสียงดัง แข็งกระด้าง ไม่เกาะถนนเท่าที่ควร ยางประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับรถที่ใช้งานหนัก ขับทางไกลเป็นประจำ จะช่วยยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนยาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยลง

ยางรถยนต์แบบใช้งานทั้วไป
ส่วน ยางรถยนต์ ที่มี Treadwear ต่ำจะมีความนิ่มของเนื้อยางมากกว่า สำหรับรถใช้งานทั่วไป

ส่วนยางที่มีค่า Treadwear ต่ำจะมีความนิ่มของเนื้อยางมากกว่า จึงทำให้มีการยึดเกาะถนนที่ดีกว่า เสียงรบกวนในขณะขับขี่ต่ำกว่า และให้ความนุ่มนวลมากกว่า แต่ข้อเสียคือ ยางมีอัตราการสึกหรอสูง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนยางบ่อยมากขึ้น

การแบ่งเกรดคุณภาพยางแบบ UTQG

แน่นอนว่าผู้ผลิต ยางรถยนต์ นั่นมีให้เราได้เลือกมากมาย แต่สิ่งเดียวที่ใช่เป็นมาตรฐานเดียวกันนั่นคือ การแบ่งเกรดคุณภาพยางด้วย Uniform Tyre Quality Grading (UTQG) มีการระบุถึง Traction และ Temperature

  • โดย Traction จะหมายถึงความสามารถในการยึดเกาะถนนโดยเฉพาะบนทางเปียก โดยไล่จากสูงสุดไปต่ำสุด คือ AA, A, B และ C
  • Temperature หมายถึงความสามารถในการทนความร้อน โดยมีค่าจากดีสุดไปยังแย่สุด คือ A, B และ C

ความเชื่อผิดๆเรื่อง ดอกยาง เหลือเยอะ

หลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่า “ดอกยาง” มีไว้เพื่อให้รถเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้น แน่นอนว่าสิ่งที่หลายๆคนเข้าใจนั่น อาจจะมีส่วนที่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะที่จริงดอก ยางรถยนต์ มีไว้สำหรับ “รีดน้ำ” ต่างหากล่ะ!

ความจริงก็คือ ยิ่งหน้า ยางรถยนต์ แนบสนิทไปกับพื้นถนนมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้รถเกาะถนนมากขึ้นเท่านั้น หากเทียบกันระหว่างยางที่มีความกว้างเท่ากัน ยางที่ไม่มีดอกยางจะสามารถยึดเกาะถนนได้ดีกว่ายางที่มีดอกยาง ส่งผลให้รถแข่งทางเรียบทั้งหลายมักเลือกใช้ยางไร้ดอก (Slick) ซึ่งมีพื้นผิวเรียบช่วยเพิ่มการยึดเกาะถนนได้ดีกว่ายางรถบ้านทั่วไป และลดแรงต้านทานที่เกิดจากดอกยางได้อีกด้วย

ยางรถยนต์ สำหรับแข่ง
แต่หากจู่ๆ เกิดฝนตกขึ้นมาระหว่างการแข่งขัน รับรองว่าไถลออกนอกสนามกันเป็นว่าเล่นอย่างแน่นอน ยิ่งใช้ความเร็วสูงมากเท่าไหร่ยิ่งไม่รอด

แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราขับรถผ่านแอ่งน้ำ ยางรถยนต์ ที่เสื่อมสภาพจนแทบไม่เหลือดอกยางนั้น จะไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ จนทำให้เกิดชั้นของน้ำแทรกกลางระหว่างหน้ายางและพื้นถนน (Hydroplaning) จึงสูญเสียประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนไป ส่งผลให้รถเสียหลักได้ในที่สุด ถึงแม้ว่ารถจะมีระบบควบคุมเสถียรภาพ เช่น VSC, VSA, ESP, DSC,… หรืออื่นๆ ตามแต่ละผู้ผลิตรถยนต์จะเรียก ก็แทบจะไร้ประโยชน์เนื่องจากหน้ายางไม่สัมผัสพื้นถนนไปแล้วนั่นเอง

ตรวจคุณภาพของ ยางรถยนต์
ควรตรวจสอบความพร้อมของ ยางรถยนต์ ทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัย

รู้แบบนี้แล้วอย่าลืม

ผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ ควรจะตรวจสอบหน้า ยางรถยนต์ อย่างสม่ำเสมอ ให้พร้อมต่อการใช้งาน และยังสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน ก็ควรตรวจสอบสภาพ ยางรถยนต์ ว่ามีดอกยางเหลือมากกว่า 3 มม. ขึ้นไป เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนั่นเองครับ รู้แบบนี้แล้วก่อนเปลี่ยนยางครั้งต่อไปอย่าลืมสังเกตค่ามาตรฐานเหล่านี้กันด้วยนะครับ ทีมงาน Songlorclub ขอให้ทุกคนใช้รถ ใช้ถนน ด้วยความปลอดภัยและไม่ประมาท สำหรับวันนี้ ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ