ทำความรู้จัก 4 โรคร้าย ที่เหล่าไบค์เกอร์ควรระวัง!

Get to know 4 serious diseases that bikers should be careful of!
หัวข้อน่าสนใจ

เชื่อว่าอากาศดีเเบบนี้อีกทั้งวันหยุดที่ที่กำลังใกล้เข้ามา ชาว ไบค์เกอร์ อย่างเราๆมีหรือที่จะนิ่งเฉยหลายคนก็คงจะมีทริปขี่ทางไกลไปท่องเที่ยวในต่างจังหวัดกับเหล่าชาวแก๊งหรือคนรู้ใจ กับสองล้อคลับครั้งนี้ขอพักเรื่องเครื่องยนต์รวมไปถึงเรื่องมอเตอร์ไซค์กันก่อนแต่จะมาบอกกันถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่มักเกิดกับผู้ที่ชื่นชอบขับขี่ มอเตอร์ไซค์ สองล้อเป็นชีวิตจิตใจ

และเจ้าโรคเหล่านี้มันมีอะไรกันบ้างเพื่อที่จะได้รับมือเเละขับขี่ได้อย่างปลอดภัยไปตามไลฟ์สไตล์สิงนักบิดโดยที่ไม่ต้อง โรคร้าย ซึ่งเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงน่าจะเคยพบกับอาการเหล่านี้ เช่น รู้สึกปวดตา ตาแห้ง แสบตา คันตา ปวดหลัง ปวดขา หรือปวดเมื่อยไปทั้งตัว ในขณะขับหรือหลังการขับขี่มอเตอร์ไซค์

แต่อย่างไรก็ดีอย่างเพิ่งปล่อยให้อาการเหล่านี้หายไปเอง เนื่องจากคิดเอาเองว่าคงไม่เป็นไรเดี๋ยวก็หาย ขาดความใส่ใจดูแลหรือรักษาอย่างจริงจังเจ้าอาการต่างๆนี้ที่ดูเป็นเรื่องเล็กแต่ถ้าปล่อยไว้นานเข้า ก็สามารถพัฒนาไปเป็นเคสเจ็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้นได้เช่นกัน กับบทความนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักว่าอาการเริ่มต้นพวกนี้สามารถพัฒนาต่อจนเป็น โรคร้าย ชนิดใดบ้างไปดูกันเลย

4 โรคร้าย ที่เหล่าไบค์เกอร์ควรรู้เเละระวัง

1.โรคต้อลม

Driving a motorcycle each time The body is exposed to many pollutants and is at risk of developing cataracts.
Driving a motorcycle each time The body is exposed to many pollutants and is at risk of developing cataracts.

สำหรับการขับขี่มอเตอร์ไซค์แต่ละครั้งนั้น ร่างกายต้องเผชิญกับมลพิษมากมายระหว่างการเดินทาง ทั้งฝน ฝุ่น ควันจากท่อไอเสีย รังสียูวีจากแสงแดด ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดความระคายเคืองที่ผิวหน้าและดวงตา อาจจะมีอาการแสบตา คันตา หรือปวดเบ้าตา จากอาการเล็ก ๆ แบบนี้ สุดท้ายก็หนักขึ้นจนเป็นโรคต้อลม

ซึ่ง โรคร้าย อย่าง ต้อลม เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดเป็นแผ่นหรือตุ่มนูนสีออกเหลืองเกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาขาวข้างกระจกตาดำ ส่วนใหญ่มักเกิดที่หัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกันเกิดจากการที่ดวงตาสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ UV จากแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลานาน

รวมถึงเกิดจากภาวะตาแห้ง และสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองดวงตา เช่น ฝุ่นละออง  ควัน  ลม  อากาศแห้ง ดังนั้น โรคนี้จึงพบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนที่มีแสงแดดจัด และในผู้ที่ต้องทำงานหรือนิยมทำกิจกรรมกลางแจ้งอยู่เสมอนั่นเอง

2.โรคต้อเนื้อ

Pterygium is a serious disease that occurs on the surface of the eyeball, which forms on the conjunctiva of the eye.
Pterygium is a serious disease that occurs on the surface of the eyeball, which forms on the conjunctiva of the eye.

เมื่อมีอาการของโรคต้อลม แล้วไม่รีบรักษาหรือป้องกัน ก้อนเนื้อเล็ก ๆ ก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแผ่นเนื้อที่เรียกว่า “ต้อเนื้อ” เข้ามาบริเวณกระจกตาดำ และทำให้ตาเป็นต้อเนื้อในที่สุด ซึ่ง ต้อเนื้อเป็น โรคร้าย ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าลูกตาที่เกิดขึ้นตรงเยื่อตาโดยมีลักษณะเป็นพังผืดและมีเส้นเลือดมาเลี้ยง ปกติแล้วโรคนี้พบบ่อยในที่ๆมีแสงแดดจัด แม้สาเหตุหรือกระบวนการเกิดโรคต้อเนื้อ นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องและนับเป็นสาเหตุของการเกิด โรคได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสุด คือ การที่ดวงตาสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีมากจนเกินไป

3.อาการมือชา

Riding long distances or dealing with traffic problems for long periods of time Many motorcyclists experience numbness in their hands and decreased awareness or sensation.
Riding long distances or dealing with traffic problems for long periods of time Many motorcyclists experience numbness in their hands and decreased awareness or sensation.

ในการขี่รถทางไกลหรือต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรเป็นระยะเวลานาน ผู้ขี่มอเตอร์ไซค์หลายคนจะมีอาการมือชา การรับรู้ หรือความรู้สึกลดลง มีอาการเมื่อยมือระหว่างขับขี่ แรงสั่นของรถมอเตอร์ไซค์ สำหรับบิ๊กไบค์คันใหญ่มักจะมีเเรงสั่นของรถ แรงสั่นเหล่านี้ส่งมาถึงมือของผู้ขับขี่ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาได้

หรือเมื่อเจอกับอากาศเย็น ระหว่างขี่รถ ซึ่งอาจต้องใช้แฮนด์การ์ดหรือแผ่นบังลม หรือเลือกถุงมือที่มีเทคโนโลยีเก็บอุณหภูมิหรือติดฮีตกริปก็ได้ การจัดท่านั่งของรถ เช่น มอเตอร์ไซค์แบบ Cafe Racer หรือ Super Sport จะมีท่านั่งที่ต้องถ่ายน้ำหนักไปที่ข้อมือมากกว่ามอเตอร์ไซค์สไตล์อื่น แก้โดยการปรับองศาแฮนด์แบบคลิป-ออนหรือตั้งบาร์ไรเซอร์ก็จะสามารถช่วยลดอาการชาลงได้แต่อย่างนิ่งนอนใจเพราะหากเกิดขึ้นบ่อยๆ และทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคร้าย ที่เกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบได้

4.โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

Of course, when riding for a long period of time or travel far There must be various aches and pains.
Of course, when riding for a long period of time or travel far There must be various aches and pains.

แน่นอนอยู่แล้วว่าเมื่อต้องขี่รถเป็นระยะเวลานาน หรือเดินทางไกล จะต้องมีอาการเมื่อย อาการปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดต้นคอ ปวดเมื่อยตามขาไปจนถึงสะโพก หากมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวบ่อยๆ รู้สึกอ่อนแรงในบางที แขนขายกไม่ขึ้น ลุกเดินไปไหนก็ลำบากให้ระวัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาเตือน โรคร้าย อย่าง กล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

แม้โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่เป็นผลมาจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลายๆ ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับเขยื้อนหรือลุกไปไหนมาไหนได้ และถ้าหากมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร่วมด้วยแล้วล่ะก็อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

อย่างไรก็ดีในการขับขี่จักรยานยนต์นั้นไม่ว่าจะขี่เป็นงานอดิเรกหรือขับใช้งานเป็นประจำในชีวิตประจำวันโปรดอย่างลืมว่า คุณมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ขับรถยนต์ ฉะนั้น ก่อนสตาร์ทรถแต่ละครั้ง จำเป็นต้องเช็คระบบทุกอย่างว่ามีความพร้อมหรือไม่ โดยเฉพาะร่างกายของผู้ขับขี่ และควรสวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งเมื่อขับขี่ด้วยความหวังดีจากทีมงานสองล้อครัล

และเช่นเคยหากต้องการหากต้องการอ่านรีวิวมอเตอร์ไซค์ต่อหรือเลือกอ่านหาสาระที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมสามารถคลิกมาได้ที่ลิงค์ songlorclub คลิกเลย!

Barif Ibrahim